ในปัจจุบัน โรงงานอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับความท้าทายด้านต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากค่าไฟฟ้า ค่าเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบผลิตต่าง ๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายโรงงานเริ่มหันมาให้ความสนใจกับ โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ในฐานะแหล่งพลังงานทางเลือกที่สามารถช่วย ลดค่าไฟฟ้าและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนในระยะยาว
แต่คำถามสำคัญก็คือ … โรงงานที่ใช้ไฟจากการไฟฟ้าอยู่แล้ว จะติดโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นมาเพื่ออะไร? และจะใช้ร่วมกันได้อย่างไรให้คุ้มค่า?
ทำไมต้องใช้ “ควบคู่” ไม่ใช่ “แทนที่”
สำหรับโรงงานในเขตเมืองหรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าครอบคลุมอยู่แล้ว การติดโซลาร์เซลล์ ไม่ได้หมายความว่าจะเลิกใช้ไฟจากการไฟฟ้า แต่เป็นการ ลดการพึ่งพา และ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่คุ้มค่าที่สุด นั่นคือ ช่วงกลางวัน ซึ่งเป็นช่วงที่การใช้พลังงานในโรงงานสูงที่สุด
การใช้ “ควบคู่” ช่วยให้โรงงาน:
- ใช้ไฟจากโซลาร์เซลล์ในช่วงเวลากลางวัน
- ดึงไฟจากการไฟฟ้าเฉพาะเมื่อพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ (เช่น เวลากลางคืนหรือวันที่ฝนตก)
- ไม่จำเป็นต้องลงทุนกับแบตเตอรี่ (หากใช้ระบบ On-Grid)
- ได้ความมั่นคงในการจ่ายไฟ โดยไม่กระทบกระบวนการผลิต
ระบบโซลาร์เซลล์แบบไหนเหมาะกับโรงงาน?
โดยทั่วไป ระบบที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรมมี 2 ประเภทหลัก:
- ระบบออนกริด (On-Grid)
- ไม่มีแบตเตอรี่
- เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลักของโรงงาน
- ใช้พลังงานจากโซลาร์ในช่วงกลางวัน หากไม่พอจะดึงไฟจากการไฟฟ้า
- ประหยัดค่าไฟเฉพาะช่วงกลางวัน แต่ใช้ไฟจากการไฟฟ้าในช่วงอื่น
- ระบบไฮบริด (Hybrid)
- มีแบตเตอรี่เก็บไฟ
- ใช้พลังงานโซลาร์ก่อน แล้วใช้ไฟจากแบตเตอรี่ต่อ
- หากไม่พอ ค่อยดึงจากการไฟฟ้า
- เหมาะกับโรงงานที่ต้องการความต่อเนื่องในการใช้ไฟ หรือมีความเสี่ยงไฟดับบ่อย
ใช้ร่วมกันอย่างไรให้ “ประหยัดสูงสุด”?
- วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ไฟของโรงงาน ว่ามีโหลดช่วงไหนบ้าง
- เลือกขนาดระบบโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมกับโหลดกลางวัน (เพื่อให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มประสิทธิภาพ)
- วางระบบให้จ่ายไฟจากโซลาร์เซลล์ก่อนเสมอ เพื่อให้ลดภาระจากค่าไฟที่การไฟฟ้าคิดในเรตราคาสูง (ช่วงพีค)
- เช็กสัญญากับการไฟฟ้า ว่าเป็นแบบ TOU (Time of Use) หรือไม่ เพราะอัตราค่าไฟช่วงกลางวันจะต่างจากช่วงกลางคืน
- ใช้ระบบ Monitoring เพื่อตรวจสอบปริมาณพลังงานที่ผลิตและใช้งานจริง